Ventilation System แปลว่า ระบบระบายอากาศ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการวางระบบตั้งแต่การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีความสามารถในการช่วยลดอุณหภูมิสูง กำจัดความชื้น ลดควันพิษ และป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพ จากการสร้างสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ดี สำหรับใครที่กำลังรู้สึกหรือกังวลว่า โรงงานไม่ได้มีอากาศหมุนเวียนอย่างเหมาะสม วันนี้ Yushi Group ขอแนะนำการติดตั้งระบบระบายอากาศภายในโรงงานที่คุณควรจะรู้ ว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร มีทั้งหมดกี่รูปแบบ สามารถนำอุปกรณ์อะไรมาช่วยสร้างปริมาณลมได้บ้าง เพื่อเป็นการทำให้คุณได้รู้จักกับระบบระบายอากาศมากยิ่งขึ้น การทำงานของระบบระบายอากาศ หากอธิบายให้คุณได้เข้าใจเกี่ยวกับระบบระบายอากาศแบบง่ายที่สุด คือ นำอากาศบริสุทธิ์ดันอากาศที่ปนเปื้อนออกนอกพื้นที่ หลักการทำงานของระบบระบายอากาศ จะเป็นกระบวนการที่ช่วยจัดการให้มีอากาศหมุนเวียนในพื้นที่ โดยต้องมีการนำอากาศสะอาดไหลเข้าสู่อาคาร ในระดับที่เหมาะสมจนสามารถนำอากาศเสียไหลออกยังด้านนอก พื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการติดตั้งระบบระบายอากาศเป็นอย่างยิ่ง เพราะสภาพแวดล้อมภายในจะต้องมีการควบคุมคุณภาพ ทำให้มีออกซิเจนที่เพียงพอ และลดความร้อนสะสมสูง เพื่อช่วยให้การผลิตในโรงงานมีประสิทธิภาพ การติดตั้ง ระบบระบายอากาศ ภายในโรงงาน รูปแบบของระบบระบายอากาศ วิธีการทำงานของระบบระบายอากาศ จะสามารถนำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่ จึงทำให้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 รูปแบบหลัก ดังนี้ ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติ เป็นหลักการที่นำกระแสลมธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ โดยอาศัยทั้งการออกแบบของอาคาร และทิศทางลม เพื่อทำให้อากาศที่เป็นมลพิษเจือจางลง ซึ่งความแรงของกระแสลมไม่อาจคาดเดาได้ เพราะเป็นลมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากภายในพื้นที่ไม่ได้มีปริมาณลมที่เพียงพอกับความต้องการ จะต้องใช้วิธีกลที่มีการติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่ม เพื่อเป็นตัวช่วยที่สามารถนำอากาศสะอาดเข้าสู่พื้นที่
Category Archives: ไม่มีหมวดหมู่
อากาศบริสุทธิ์เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และจะต้องมีแก๊สออกซิเจนอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการหายใจ ซึ่งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปฏิบัติงาน จะทำให้อากาศได้รับสิ่งปนเปื้อนจนทำให้กลายเป็นพิษ จึงต้องมี “ระบบระบายอากาศในโรงงาน” เพื่อช่วยให้มีอากาศหมุนเวียนภายในอาคารได้ดีมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าทำไมโรงงานต้องมีการติดตั้ง และการทำงานมีอะไรบ้าง วันนี้ Yushi Group จะมาแนะนำระบบระบายอากาศให้คุณได้รู้จัก เผื่อใครที่กำลังเป็นผู้ประกอบการและต้องทำการก่อสร้างโรงงาน จะได้ไม่พลาดกับการวางระบบของอากาศ! ระบบระบายอากาศ คืออะไร? การก่อสร้างอาคารหรือโรงงานแบบปิด จะไม่มีกระแสลมพัดผ่านภายในพื้นที่ นอกจากพนักงานจะหายใจไม่สะดวก รู้สึกไม่สบายตัวกับการทำงาน แล้วยังมีปัญหาเรื่องของสุขภาพตามมาอีกด้วย จึงทำให้ระบบระบายอากาศมีบทบาทสำคัญ ที่นอกจากจะลดความร้อนภายในพื้นที่ ยังมีหน้าที่ทำให้อากาศมีการหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น หลักการทำงานของระบบระบายอากาศ จะเป็นการนำกระแสลมของอากาศบริสุทธิ์เข้ามาภายในอาคาร เพื่อที่จะได้เป็นการไล่อากาศที่สะสมออกสู่ด้านนอก โดยระบบระบายอากาศจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบธรรมชาติ (Natural Ventilation) มีการไหลเวียนของอากาศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยโครงสร้างของอาคารต้องมีการสร้างทางเข้า – ทางออก เพื่อให้มีการเคลื่อนตัวของอากาศหรือกระแสลมปริมาณสูงผ่านเข้าสู่อาคาร และกระแสลมจะไหลไปยังทางออกในปริมาณลมที่ต่ำ เนื่องจากการทำงานของระบบจะใช้ลมแบบธรรมชาติ จึงไม่สามารถควบคุมกระแสลมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการระบายอากาศได้ แบบวิธีทางกล (Mechanism Ventilation) จะมีลักษณะของการทำงานเช่นเดียวกับแบบธรรมชาติ ที่ต้องมีทางเข้า – ทางออก เพื่อระบายอากาศออกนอกอาคาร แต่จะแตกต่างกันตรงที่ภายในอาคาร ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยเสริมของการระบายอากาศ อย่างเช่น
จำเป็นมั้ยต้องทำความสะอาด EVAP ? ระบบ Cooling Pad ใน EVAP ทุกยี่ห้อส่วนใหญ่ผลิตมาจากเยื่อกระดาษด้วยกันทั้งนั้น กรรมวิธีการผลิตก็เกิดจากการทอเยื่อกระดาษให้มีชั้นติดกันหลายชั้น เพื่อกักเก็บน้ำในอยู่ในชั้นของกระดาษนั่นเอง ดังนั้นตัว Cooling Pad จึงต้องสัมผัสทั้งสารประกอบที่มากับน้ำ ลม ฝุ่น และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่มากับน้ำโดยตรง นานวันเข้าหากไม่ได้รับการทำความสะอาดหรือบำรุงรักษาที่ถูกวิธี และตรงเวลา ก็จะตามมาด้วยปัญหาต่าง ๆ เช่น กลิ่น เชื้อโรค พัดลมไม่เย็น ท่อตัน พัดลมทำงานหนัก ฯลฯ ส่วนวิธีการทำความสะอาดนั้น ก็ควรหมั่นทำเป็นประจำทุก 3-6 เดือนในกรณีเป็นระบบใหญ่ แต่ถ้าเป็น EVAP เล็กที่อยู่ตามบ้าน ทำเพียงเดือนละครั้งก็เพียงต่อต่อการใช้งานได้แล้ว โดยขั้นตอนและวิธีการทำความสะอาดก็ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขความปลอดภัยเป็นสำคัญ มีขั้นตอนดังนี้ 1) คัดกรองคุณภาพของน้ำที่ใช้เข้าสู่ระบบโดยน้ำที่จะเค้าสู่ระบบแนะนำว่าควรมีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-8 เพราะความเป็นกรดเป็นด่างมากไป จะทำให้อายุการใช้งานของ Cooling Pad สั้นลง หากน้ำมีค่าความกระด้างมาก เกิน 100
หลายครั้งที่ผมมีโอกาสได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อไปดูความก้าวหน้าทางวิทยาการของประเทศต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงและปรับใช้กับธุรกิจของผมเอง ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่ผมเลือกไปดูงานก็จะเป็นประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ หรือแม้แต่จีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีวิทยาการทางเทคโนโลยีมากกว่าเรา จนมีโอกาสได้ไปเจรจาธุรกิจที่สิงคโปร์กับนักธุรกิจคนนึงซึ่งเป็นเพื่อนกันกับผม เรานัดเจอกันแถว Marina Bay ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง โดยผมไปกับผู้ช่วยผม 1 คน หลังจากทานอาหารเสร็จ ก็เดินทางไป China town ไปดูสีสันของคนสิงคโปร์และไปต่อที่ Orchard Road เพื่อไปหากาแฟดื่มก่อนจะกลับที่พัก ซึ่งสภาพอากาศในสิงคโปร์เองก็ไม่ต่างจากบ้านเรามากนัก เพราะร้อนอบอ้าวใช้ได้เลย ปกติผมเป็นคนร้อนง่ายอยู่แล้ว แต่ผมสังเกตุว่าร้านอาหารในสิงคโปร์และสถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากย่าน สีลม ทองหล่อ หรือเอกมัย บ้านเรามากเท่าไหร่ แต่มันดันมีพัดลมชนิดนึงที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนในเมืองไทย ติดอยู่เต็มไปหมด ทั้งร้านอาหารหรู ๆ ไปยันร้านอาหารร้านข้างทาง นั่นคือ “ Ceiling Fan “ หรือพัดลมแขวนเพดานนั่นแหละ Me : What’s that Mike ?
ไฮบริด (Hybrid) ไม่ใช่สิ่งใหม่หรือเป็นคำที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันดี ถ้าเอ่ยถึงคำว่าไฮบริดนั่นย่อมแปลว่ามีความประหยัดพลังงานมากกว่าปกติ นั่นก็เป็นเพราะว่าระบบนี้เป็นระบบที่โตโยต้า มอเตอร์ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลกที่สามารถนำเทคโนโลยีไฮบริดมาใช้ในการผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์ (Mass Production) และเปิดตัวรถรุ่น โตโยต้า พรีอุส (Prius) ตั้งแต่ปี 1997 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้คำว่า “ ไฮบริด (Hybrid) “ ซึ่งแปลว่าลูกผสมนั้น เป็นภาพจำได้อย่างดีสำหรับระบบประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบไฮบริด (Hybrid) จึงแพร่หลายมากในระบบของเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายในโดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและมอเตอร์ไฟฟ้าประสานการทำงานกัน และระบบดังกล่าวถูกหยิบยกมาใช้กับระบบการทำงานของระบบรูปแบบอื่นด้วย อาทิ ระบบระบายอากาศแบบลูกผสม (Hybrid Ventilations Systems) โดยหลักแล้วการออกแบบระบบระบายอากาศนั้นจะเป็นการออกแบบเชิงเดี่ยว หรือ Single Ventilation System เป็นส่วนใหญ่ สังเกตเห็นได้จากตามอาคารสถานที่ต่างๆ จะมีระบบระบายอากาศระบบเดียว โดยที่ระบบจะพึ่งพิงการทำประสิทธิภาพจากระบบหลักเกือบ 100% เพียงอย่างเดียว ทำให้ระบบหลักต้องรับภาระหนักในการทำการระบายอากาศหรือสร้างความเย็นให้กับพื้นที่ และในระยะนานไป เมื่อเกิดการใช้งานต่อเนื่อง ระบบระบายอากาศเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพที่ลดลงตามเวลา แต่ต้องทำงานหนักเหมือนเดิมเพื่อคงประสิทธิภาพไว้
วันที่ 3 ตุลาคม 2561 บริษัท ยูชิ กรุ๊ป จำกัด ได้เป็นประธานในการจัดประชุมอบรมสัมมนา ในหัวข้อ “การอบรมและให้ความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งระบบ Ventilation” ให้กับตัวแทน Dealer จาก 6 จังหวัดเข้าร่วมฟังการสัมมนา เพื่อเสริมความรู้ในการออกแบบและติดตั้งระบบ Ventilation อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามมาตรฐานของบริษัท เพิ่มความมั่นใจในสินค้าและบริการของเรา ทั้งนี้ ยังได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า พาเยี่ยมชมสินค้า ต่างๆของระบบพัดลมอีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ????โทร. 02-517-0688 ????Hot line : 082-317-8662,091-772-6063 ????Line : @yushigroup (มี @ ด้วยนะคะ) คลิ๊กเลย ???? https://line.me/R/ti/p/%40gnr8218g ????Website : www.yushi.co.th #Yushi #YushiGroup #ศูนย์รวมสินค้าและบริการอุตสาหกรรมครบวงจร
พัดลมฟาร์ม (Industrial Propeller Fan) การออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากใบพัดของเครื่องบินรบสมัยสงครามโลก ซึ่งออกแบบให้มีใบพัดขนาดใหญ่และมีองศาใบพัดที่เหมาะสมเพื่อขับดันกำลังลมปริมาณมหาศาล โดยใช้แหล่งต้นกำลังน้อย เพื่อทำให้เครื่องหรือวัตถุบินเกิดแรงยกตัวได้ในที่สุด จนพัฒนามาใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์อย่างแพร่หลายในอเมริกา ยุโรป และได้กระจายเทคโนโลยีดังกล่าวมายังเอเชียในที่สุด ดังจะเห็นได้จาก ฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่เนื้อ – ไข่ ฟาร์มหมู ฟาร์มนก และอื่น ๆ หลังจากนั้นผู้ผลิตพัดลมชั้นนำของโลกหลายรายทำการย่อส่วนใบพัด (Propeller) แล้วนำมาผลิต โดยใช้หลักการที่คล้ายคลึงกับการออกแบบใบพัดของเครื่องบินและผลิตสินค้าออกมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการการทดกำลังและรอบโดยใช้มูเลย์ (Pulley) และสายพาน (Belt) เป็นตัวส่งผ่านกำลังไปยังใบพัดโดยตรง ทำให้ ให้ปริมาณลมที่มีปริมาณมาก เสียงเงียบ แต่ใช้กำลังมอเตอร์ที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากได้ และยังสามารถประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับพัดลมชนิดใบพัดขับตรง (Direct Drive Fan Motor) ที่มีความเร็วรอบสูงและกินไฟฟ้ามากกว่า โดยปัจจุบัน ได้รับความนิยมในการติดตั้งเป็นอย่างมากในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนผลิต โกดัง และอาคารต่าง ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนที่คืนทุนเร็วในด้านการประหยัดพลังงาน โดยมีขนาดใบพัดหลายไซด์ให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่
เครื่องปรับอากาศภายในอาคาร แทบจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบันนี้ เพราะสภาพอากาศในปัจจุบันมีแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner) ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศต่างก็พยายามที่จะคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ ระบบอินเวอร์เตอร์ ระบบโซล่าเซลล์ และอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคของผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งต่างก็ต้องการ Air Conditioning ที่มีประสิทธิภาพสูง ในด้านการทำความเย็น การปรับอากาศ ความสะดวกในการใช้งาน อายุการใช้งานที่ยาวนาน รูปลักษณ์ที่สวยงาม และที่สำคัญ “ ประหยัดพลังงาน “ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner) เป็นปัจจัยที่จะขาดไม่ได้ในบ้านเรือน อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ออฟฟิศส่วนบุคคล สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ และสิ่งที่ตามมากับการติดตั้งระบบปรับอากาศเพื่อให้พื้นที่เหล่านั้นได้รับความเย็นและสะดวกสบาย นอกจากจะเป็นค่าใช้จ่ายจากตัวสินค้า การติดตั้งและซ่อมบำรุงรักษาแล้ว อีกปัจจัยสำคัญมากอีกหนึ่งปัจจัยก็คือ “ ค่าไฟฟ้า “ นั่นเอง ซึ่งค่าไฟฟ้าจากการเครื่องปรับอากาศคิดเป็น 60 – 70% ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในอาคารสำนักงานเลยทีเดียว
- 1
- 2