History | ประวัติบริษัท YUSHI GROUP CO.,LTD.

หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและเศษฐกิจของประเทศโดยอาศัยการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นสำคัญและเป็นยุคที่ชนชาติจีนจำนวนหนึ่ง เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยโดยอาศัยเพียงเสื่อผืน หมอนใบ เพื่อเข้ามาเสี่ยงโชคในกรุงเทพมหานคร ซึ่งหนึ่งในชาวจีนจำนวนนั้นก็คือ “ นายบุญเคี้ยง แซ่จึง “ เป็นชาวจีนที่เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรในประเทศไทยโดยเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามา และเริ่มต้นอาชีพอย่างการใช้แรงงาน และเป็นกรรมกรในย่านเยาวราชและหัวลำโพง มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานหลากหลายอาชีพ แต่ส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานเพื่อแลกเงินทั้งสิ้น เนื่องจากไม่มีความรู้ และข้อจำกัดทางด้านภาษานั่นเอง แต่หนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตและอาชีพของชายชาวจีนผู้นี้ก็คือการได้มีโอกาสเปิดร้านซ่อมมอเตอร์ (Induction Motor) ซึ่งทำอยู่ในห้องแถวเล็กๆ และมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด แต่ด้วยความมี DNA ของนักสู้ นักคิดและเทคนิคความช่างสังเกตแบบครูพักลักจำ ได้สั่งสมความชำนาญดังกล่าว แล้วขยายผลไปสู่ การซ่อม ขาย และผลิตมอเตอร์ด้วยตนเองในที่สุด หลังจากนั้นจึงก่อตั้งบริษัท น่ำแซ มอเตอร์ จำกัด ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยเป็นผู้ผลิตมอเตอร์เจ้าแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ปูเส้นทางสู่สายธุรกิจอย่างมั่นคง จากกรรมกรก่อสร้างสู่ประธานบริษัทผลิตมอเตอร์อุตสาหกรรมรายแรกของเมืองไทยจนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการผู้ผลิตมอเตอร์อุตสาหกรรมในสมัยนั้น ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา กลุ่มน่ำแซสามารถขยายธุรกิจของตนเอง และสามารถเปิดโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตพัดลมไฟฟ้า (Industrial Fan) , เครื่องเป่าลมอุตสาหกรรม (Blower) และอื่นๆ ในเวลาต่อมาบริษัทได้ขยายตัวมากมาย จนสามารถก่อตั้งบริษัทเครือข่ายเพื่อสนับสนุนธุรกิจกันได้อีกหลายธุรกิจในนาม “ น่ำแซ กรุ๊ป “ ในอีก 30 ปีให้หลัง

น่ำแซ เวนติเลเตอร์
โรงงานน่ำแซ มอเตอร์ พ.ศ.2495 นายบุญเคี้ยง แซ่จึง
CEO YUSHI GROUP
ยุทธ จึงสวนันทน์

CEO of YUSHI GROUP

สำหรับกลุ่ม YUSHI GROUP ถือเป็น Generation 3 ภายใต้การนำของ “ ยุทธ จึงสวนันทน์ “ บุตรชายคนโตของตระกูลจึงสวนันทน์ ที่มี ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้มีความสามารถทัดเทียมชาติ อารยะ โดยต้องการพาเกษตรกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก โดยปณิธานดังกล่าวเริ่มต้นด้วย ความสนใจศึกษาทางด้าน Information System Management โดยได้มีโอกาสได้รับการศึกษา และจบการศึกษาจาก Takushoku University , Tokyo ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มต้นเส้นทางสายอาชีพโดยเข้าทำงานที่ บริษัท มิกิ มู่เลย์ (Miki Pulley,.Co.Jp) เป็นแห่งแรก ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำยักษ์ใหญ่ทางด้านการผลิตระบบส่งผ่านกำลัง เบรคอุตสาหกรรมและการผลิตคลัปปลิ้ง (Transmission) เพื่อสั่งสมประสบการณ์ทำงานในฐานะลูกจ้างเพื่อให้สามารถเรียนรู้มุมมอง สร้างความเข้าใจต่างๆ และสามารถเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานของประเทศชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรมของโลกอย่างประเทศญี่ปุ่น อยู่เป็นเวลา 8 ปี หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมายังประเทศไทย

Miki plant panoramic
โรงงาน MIKI PULLEY,.Co.JP in Japan

โดยกลับเข้ามาอยู่ในส่วนของโรงงานผลิตมอเตอร์และเครื่องเป่าลมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานดั้งเดิมของตระกูล และได้ทำการศึกษางานจนเชี่ยวชาญด้านธุรกิจที่ได้เรียนรู้มา และสังเกตุเห็นว่าบริษัทไม่มีคนที่เป็นคนเก่าแก่ที่สามารถอยู่กับบริษัทได้เลย ต่างจากวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่นที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่จะอยู่ในองค์กรตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานจนเกษียณอายุแบบ “ Life Time Employee” และเมื่อมองเห็นปัญหาจุดนี้ซึ่งเป็นทางตันขององค์กรและบริษัทในประเทศไทย ที่ไม่สามารถทำให้บริษัทหรือองค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน อันเนื่องมาจากการไม่สามารถทำให้คนที่มีความรู้ ความสามารถอยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน จึงตัดสินใจก้าวสำคัญอีกครั้งด้วยการไปเรียนต่อในต่างประเทศในระดับปริญญาโทด้าน MBA จาก University of Washington และ Seattle University, เพื่อศึกษาด้านการบริหารโดยเฉพาะ โดยสาขาที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือสาขา Entrepreneurship โดยเป็นการเรียนรู้วิธีการวางแผนธุรกิจในแขนงต่างๆ ให้มีความสำเร็จลุล่วง จากการศึกษา case study มากมายในหลายธุรกิจ ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว โดยเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่สามารถเรียนและสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาแขนงนี้ในเวลานั้น

Seattle University of Washington Suzzalo
University of Washington in Seattle

หลังจากจบการศึกษา จึงเดินหน้าสายธุรกิจของตนเองโดย การนำประสบการณ์ทั้งหมด ทั้งจากชีวิตการศึกษา การทำงานในประเทศญี่ปุ่นและการทำงานในประเทศไทยมาหลอมรวมจนตกผลึกทางความคิด หลังจากนั้นจึงนำหลักคิดดังกล่าวมาวางแผนดำเนินธุรกิจ โดยหนึ่งนโยบายสำคัญคือการเปิดโอกาสเจ้าหน้าที่ในทุกระดับสามารถเติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน แข็งแกร่ง นำมาสู่การเติบโตสู่การเป็นเจ้าของกิจการร่วม เพื่อแก้ปัญหาพนักงานลาออก และพนักงานระดับมันสมองอยู่กับองค์กรได้ไม่นานโดยเริ่มต้นเส้นทางและแนวคิดการสร้างนโยบาย และกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตและขยายตัวให้ต่อเนื่องโดยสร้างพื้นฐาน Supply Chain ทางด้านอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของต้นตระกูล มาดำเนินนโยบาย M&A เพื่อขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจแขนงอื่น โดยเฉพาะภาคการเกษตร ดังภาพโครงสร้างด้านล่างที่ คุณยุทธ จึงสวนันทน์ ได้ออกแบบไว้

ระบบ supply chain

เริ่มต้นการสร้าง Supply Chain ทางด้านอุตสาหกรรมจากการก่อตั้งบริษัท น่ำแซ มิลเลนเนียม จำกัด ในปี 2540 โดยการขอเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อนำมาจำหน่ายในประเทศไทยในหมวดของชิ้นส่วนอุตสาหกรรม (Machinery Components) ตามมาด้วยสินค้าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา จนธุรกิจค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องจากกลยุทธ์การทำธุรกิจ โดยใช้ต้นทุนที่จำกัดมากในช่วงเริ่มต้น จากนั้นเมื่อธุรกิจสามารถดำเนินไปด้วยดี จึงทำการขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยการเปิด บริษัท ไอดี มาร์ท จำกัด เป็นบริษัทที่สอง ด้วยแนวคิดที่ว่าต้องการให้ลูกค้าสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการทางด้านอุตสาหกรรมภายใต้ Concept “ One Stop Service “

ในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งบริษัท ไอดี มาร์ท นี้เองเป็นบริษัทที่เป็นกลไกหลักในการค้นหาความต้องการทางด้านอุตสาหกรรมในโรงงานเพื่อการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรม (Demand) จากกระบวนการและกลยุทธ์ดังกล่าวจึงสามารถเห็นปัญหาสำคัญต่างต่างอีกหลายประการของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งสะสมประสบการณ์ และเทคนิคทางด้านการผลิตสินค้าในหลายแขนงเพื่อสะสมเป็นข้อมูลเพื่อนำมาขยายธุรกิจในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ต้องมีโรงงานผลิตเป็นหลัก จากนั้นก็ยังสะสมสินค้าเพื่อเป็นฐานให้กับ Supply Chain เพิ่มขึ้น จึงได้ก่อตั้งบริษัท น่ำแซ เวนติเลเตอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อนำเข้าสินค้าพัดลมอุตสาหกรรมประหยัดพลังงานและดำเนินธุรกิจด้านการระบายอากาศโดยอาศัยนวัตกรรมการประหยัดพลังงานมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง 3 บริษัทดังกล่าวจึงเป็นแกนหลัก (Key of Success) ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มน่ำแซ กรุ๊ป ภายใต้การนำของผู้นำในรุ่นที่ 3 แบบ “ ยุทธ จึงสวนันทน์ ” นับแต่นั้น และเป็นพื้นฐานให้กับบริษัทในกลุ่ม YUSHI ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นธุรกิจในกลุ่มน่ำแซ กรุ๊ป เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเนื่องจากการปรับโครงสร้างของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและขยายงานของกลุ่มบริษัท

โดยการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และนโยบายใหม่หลายประการโดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ คือการเปลี่ยนชื่อคำนำหน้าบริษัทจาก น่ำแซ ซึ่งเป็นต้นกำเนิด เป็น “ YUSHI “ เพื่อให้สามารถแยกตัวออกจากกลุ่มธุรกิจเก่าของตระกูลได้อย่างชัดเจน และเดินหน้าสร้างความสำเร็จด้วยตนเอง โดยคำว่า “ YUSHI “ นั้นแปลว่า “ดีเลิศ” ในภาษาญี่ปุ่น อันสืบเนื่องมาจากการได้รับการบ่มเพาะวัฒนธรรมของชาวอาทิตย์อุทัยมาตั้งแต่ครั้งยังศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ต่อจากนั้นจึงเริ่มการขยายธุรกิจอีกขนานใหญ่ และได้ทำการก่อตั้งบริษัทที่สามารถทำการรับเหมาติดตั้งงานระบบต่างๆ ให้กับบริษัทภายในกลุ่มของตนเองโดยเป็นการดำเนินนโยบายด้านการพึ่งพาตนเอง และการนำนวัตกรรมต่างๆ

เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมของบริษัทและส่งเสริมการผลิตสินค้าโดยระบบออโตเมติก (Automation) มากยิ่งขึ้นโดยอาศัยหลักการ “ Engineering Supply Chain “ เข้ามาสนับสนุนธุรกิจให้สอดคล้องซึ่งกันและกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต บวกการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ (Finished good) เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับเป้าหมายใหญ่สุด นั่นก็คือการผลิตสินค้าภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อรักษาคุณภาพและมีต้นทุนภาคการผลิตต่ำในอนาคตได้ต่อเนื่องด้วยการขยายธุรกิจออกมาอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 17 ปี จนสามารถแตกแขนงธุรกิจได้อย่างมากมาย โดยในทุกธุรกิจภายใต้กลุ่มของ YUSHI จะเน้นเรื่องนวัตกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จ

การพัฒนาเกษตรในไทย

เริ่มต้นปี 2018 นโยบายการดำเนินธุรกิจและพื้นฐานทางธุรกิจที่วางไว้อย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและยาวนาน YUSHI GROUP ได้ดำเนินนโยบายมาถึงการควบรวมกิจการและการซื้อกิจการ หรือศัพท์ทางธุรกิจคือ “ M&A “ (Mergers and Acquisitions)โดยการควบรวมกิจการและเฟ้นหาพันธมิตรศักยภาพเพื่อร่วมมือในการดำเนินธุรกิจและเสริมความแข็งแกร่งระหว่างกัน และมีเป้าหมายให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จากกระบวนการดังกล่าว ทำให้กลุ่ม YUSHI สามารถเปิดตัวธุรกิจทางด้านการผลิตสินค้าได้อย่างมากมาย อาทิ กลุ่มสินค้าเพื่อการอหังสาริมทรัพย์ , พัฒนาสินค้าด้านการเกษตรในโรงเรือน , การผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และการสร้างบริษัทขนส่งของตนเอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของกลุ่ม “ YUSHI “ ยังจะคงเดินหน้าขยายธุรกิจนำไปสู่ภาคเกษตรกรรมในอนาคตอย่างต่อเนื่องด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่างๆ ตามปณิธานและความมุ่งมั่นดั้งเดิมที่ทำการก่อตั้งกลุ่มบริษัทขึ้น เพื่อที่จะนำความรู้และเทคโนโลยีไปสู่ภาคการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศอย่างแท้จริง

เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถในการรับรู้เทคโนโลยีการผลิตในภาคการเกษตรรูปแบบใหม่ มีรายได้ที่ยั่งยืน อนึ่งกลุ่มบริษัทมีนโยบายที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งนั่นคือการเติบโตไปพร้อมกัน หรือ “ Growth Together “ และซึ่งนโยบายดังกล่าวจะนำมาซึ่งรายได้ ความมั่นคงและยั่งยืนทางระบบเศษรฐกิจในระดับฐานรากอย่างถาวร เพื่อตอบแทนแผ่นดินเกิดคือประเทศไทยอีกทั้งเป็นการสนับสนุนนโนบายของรัฐบาลคือไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) และสนองพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ ๙ อันเป็นที่รักยิ่ง ในเรื่องของการพึ่งพาตนเองและเศรษฐกิจพอเพียง Yushi Group มีความมุ่งมั่นและจะดำเนินสิ่งเหล่านี้ต่อไปเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศประเทศอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

“New Innovation For Life”

นวัตกรรมใหม่ เพื่อชีวิต

พันธกิจ

เรามุ่งเน้น การใช้ทรัพยากร, เทคโนโลยี, และประสบการณ์มาคิดค้นและพัฒนา นวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างธุรกิจในอนาคตให้เติบโตอย่างมั่นคง

What does ” Yushi ” do ?

เกี่ยวกับ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม

Stage 1
Machinery Parts

Yushi Group | เริ่มต้นด้วยการนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับส่วนประกอบเครื่องจักร (Components) และรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์หลากหลายที่เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องจักรเข้ามาไว้รวมกัน โดยได้รับการแต่งตั้งจากแบรนด์สินค้าชั้นนำในต่างประเทศในรูปแบบ Exclusive Agent อันเป็นรากฐานในการสร้างระบบ Supply Chain

Stage 2
Factory Systems

สร้างทีมและระบบติดตั้งงานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ โดยการนำสินค้าและบริการใน Stage 1มาใช้ เพื่อสนับสนุนการทำงานระหว่างบริษัทในเครือและลูกค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถเกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในการติดตั้งงาน และสามารถออกแบบ คำนวณ ติดตั้งและบริการหลังการขายได้อย่างสมบูรณ์

MA งานระบบออโตเมชั่น
MA ระบบออโตเมชั่น

Stage 3
Machineries

นำเข้าและผลิตเครื่องจักรเข้ามาจัดจำหน่าย เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยการนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาสนับสนุนการทำงานทั้งในด้านการลดแรงงานคน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความเร็วและความแม่นยำในการผลิต และการแก้ปัญหาอื่น ๆ ให้กับลูกค้าโดยทีมงานที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม และเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Stage 4
Manufacturers

“ M&A “ (Mergers and Acquisitions) ในธุรกิจที่ไม่มีเทคโนโลยีสูงแต่สินค้าที่จำเป็นและมีความต้องการสูง นั่นรวมถึงสินค้าภาคการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของประเทศไทยด้วย โดยกลุ่ม Yushi Group จะนำเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ เข้าไปพัฒนาระบบการจัดการ การบริหาร ตลอดจนความรู้และวิทยาการ ตั้งแต่วิธีการทำงานของคน การพัฒนาเครื่องจักร และวิธีคิดทางการตลาด ออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยใน Stage 4นี้ กลุ่มบริษัทสามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ตั้งแต่ “ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ “ แบบครบวงจร เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถต่อยอดออกไปอย่างยั่งยืนและไม่มีที่สิ้นสุด

Thailand is a newly industrialized country. Thailand develops its infrastructure by using technology for over 60 years. About three-fourths of the population is ethnically Thai and a small percentage of people who are ethnically Chinese.
Mr. Chung Boon Kieng is a Chinese who comes to Thailand permanently. He starts a carrier as a labor at China Town for many years. He opens a small induction motor shop and this is the major turning point to establish Namsae Co,. Ltd. as the first manufacturer of electric fan & motor, industrial blower and other fields in Thailand in 1950.

From the labor to the first founder of industrial motor in Thailand, he also enlarged Namsae business into construction of several sales branches covering all industrial areas. As a result, Namsae Group has been created and well known until now.

น่ำแซ เวนติเลเตอร์
โรงงานน่ำแซ มอเตอร์ พ.ศ.2495 นายบุญเคี้ยง แซ่จึง
CEO YUSHI GROUP
ยุทธ จึงสวนันทน์

CEO of YUSHI GROUP

YUSHI GROUP is a 3rd generation under the leadership of Mr. Yuth Chungsawanant, the eldest son of the family, who has a dream to develop Thailand’s economy to be civilized society by bringing Thai agriculture to the world market.

He strongly interested in Information System Management field and graduated from Takushoku University,Tokyo, Japan. To gain more experience and understand organizational culture, he starts his career as an employee at Miki Pulley., Co. Ltd., (Japan), a leading manufacturer of power transmission systems, for 8 years then return to Thailand

Miki plant panoramic
MIKI PULLEY Factory in Japan

He brings “Lifetime Employment” ;which is a distinctive characteristic of Japan labor system to adapt in Thailand organizational culture. He would like to hire regular employees and keep them until retirement. This can cooperate team work and team spirit in the organization. After that he pursues a master degree at University of Washington and Seattle University, MBA major in the field of Entrepreneurship to applied all knowledge and experience using with his employee.

Seattle University of Washington Suzzalo
University of Washington in Seattle

After graduated, he starts his business by bringing all the experiences while he was studying and working life in Japan, mix it together and creates his own path in business life. One concept is to build up opportunities for all staffs for growing together with the organization. Everyone can be a co-owner under the name of Yushi, if he or she has a great potential in working. He believes that with this concept will solve the staff resignation problem. He creates the supply chain to strengthen business’s infrastructure and expand to other businesses in the group of company.

ระบบ supply chain

Namsae Millennium Co.,Ltd. has been established since 1997. The major goal of business at the first stage is the importing of machinery components for industrial factories and also being a distributors for many kind of products range from several countries all over the world. With the future vision of our management team, we decides to separate this division to be a new company and becomes Id Mart Co.,Ltd. under the concept “One Stop Service” which would like to serve more convenient to the customer. The company focuses on the usage of industrial products in factories and deliver the high quality products to serve customer inquiry.

2 years later, Namsae Ventilators ,which leading manufacturer and trading ventilation fan, is established. The company aims to serve saving energy of electric fan & motor to all factories. All the 3 companies are the key of success in business which leads by the 3rd generation of founder, Mr. Yuth Chungsawanant. Then, the business of Yushi Group is significantly changed due to the restructuring the company to meet the business goal and enlarging several company branches covering all industrial areas.

นวัตกรรมเพื่อชีวิต

We changes the company name from Namsae to Yushi which clearly separate itself from a group of family. The word “YUSHI” means excellent in Japanese language that comes from a living life with Japan culture and tradition when Mr. Yuth studied in Japan. Yushi Group believes in the power of technology and innovation to support the business and increase capability in production line from the factory till deliver to customers’ hands. “Engineering Supply

Chain” is the key that we use to strengthen all the branched together. This will help manufacturer produces a quality products with a small cost. We continuously proceed and develop our company not only industry field but also agricultural field by using technology

การพัฒนาเกษตรในไทย
การพัฒนาเกษตร

In 2018, Yushi decides to merges all the branches to be one company under the name of Yushi Group, to strengthen and support each other within the company. Not only merging all the branches but also expanding the new business. There are real estate business, agricultural product, beverage, amusement and logistics. However, the main goal of “YUSHI” aims to expand business leading to the agricultural sector with various technological innovations, to bring knowledge and technology to the agricultural sector.

In order to spread knowledge to famers, Yushi Group intends to develop agriculture by using technology that we have. With this knowledge and technology, it will sustain well-being and income to the farmer. Moreover, Yushi supports Thailand policy 4.0 and the royal speech of King Rama 9 in term of sufficiency economy to be a part developing country.

วิสัยทัศน์

“New Innovation For Life”

นวัตกรรมใหม่ เพื่อชีวิต

พันธกิจ

เรามุ่งเน้น การใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ จากกลุ่มบริษัทในเครือฯมาต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และด้านงานบริการ พร้อมทั้งคิดค้นเทคโนโลยี ควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมมารองรับการเติบโตของธุรกิจใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

M&A by Yushi Group

กว่า 1 ทศวรรษที่กลุ่มบริษัท ยูชิ กรุ๊ป จำกัด ได้ทำการวางแผนธุรกิจและสั่งสมความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม โดยการสร้าง Engineering Supply Chain ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ โดยการนำของท่านประธานบริษัทฯ “ยุทธ จึงสวนันทน์” ที่ให้ความสำคัญกับการต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีการ M&A (Mergers and Acquisitions) ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ที่มีความแข็งแกร่งทางโครงสร้างพื้นฐานมากมายในกลุ่มบริษัท ยูชิ กรุ๊ป ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ จนสามารถข้ามขีดจำกัดของธุรกิจดั้งเดิมและแตกแขนงธุรกิจออกเป็นบริษัทต่างๆ มากมายทั้งในกลุ่ม อุตสาหกรรม , เกษตรกรรม , อหังสาริมทรัพย์ , ท่องเที่ยว และอื่น ๆ ดังที่ผ่านมา

M&A หรือ Mergers and Acquisitions ก็คือ การควบรวมและการซื้อกิจการ โดยแบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ Merger หรือ การควบกิจการ (Amalgamation/Consolidate) และ Acquisition หรือ การซื้อกิจการ

เป้าหมายการซื้อร่วมธุรกิจ
การเปรียบเทียบระหว่างการซื้อกิจการและการควบรวมกิจการ

โดย Merger หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปรวมกิจการเข้าด้วยกัน โดยผลของการรวมอาจเกิดเป็นบริษัทใหม่ หรือคงเหลือเป็นบริษัทใดบริษัทหนึ่งเพียงบริษัทเดียว ส่วนของAcquisition หรือ การซื้อกิจการ หมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัท

ซึ่งจำแนกได้อีก 2 รูปแบบย่อย ดังนี้

รูปแบบที่ 1 ได้แก่ การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อทรัพย์สินของอีกบริษัทหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยบริษัทที่ขายทรัพย์สินยังคงดำเนินการต่อไปได้ การซื้อกิจการลักษณะนี้เรียกว่า Asset Acquisition

รูปแบบที่ 2 ได้แก่ การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของอีกบริษัทด้วยการซื้อหุ้นจนเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมสูญเสียอำนาจในการบริหาร การซื้อกิจการลักษณะนี้เรียกว่า การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Share Acquisition หรือ Takeover) โดยการ Takeover อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อกิจการไม่เต็มใจ แต่ถูกอีกบริษัทหนึ่งซื้อหุ้นจนกระทั่งผู้ถือหุ้นเดิมสูญเสียอำนาจในการออกเสียงและควบคุมกิจการ เรียกว่า Hostile Takeover หรือ การซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร
  • กรณีที่ 2 ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูก Takeover สมัครใจขายหุ้นให้กับพันธมิตรใหม่ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้ เรียกว่า Friendly Takeover หรือ การซื้อกิจการแบบเป็นมิตร

What are value of M&A

เป้าหมายการร่วมธุรกิจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Value Added) ในการดำเนินงานของกิจการ เป็นการช่วยเพิ่มรายได้และผลกำไรจากการดำเนินงาน ในกรณีที่เป็นการควบรวมกิจการซึ่งอยู่อุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากการขจัดคู่แข่งทางธุรกิจแล้ว ยังสามารถนำจุดแข็งของคู่แข่งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานบางอย่างที่มีความซ้ำซ้อนกันลง
  • การเพิ่มยอดขาย และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด จากฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ของบริษัทที่ควบรวมและได้ประโยชน์จากช่องทางการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น
  • การช่วยเพิ่มช่องทางในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนในการที่จะต้องทำการศึกษาและลงทุนเองใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น โดยสามารถที่จะใช้ทั้งปัจจัยการผลิตและช่องทางการขายเดิมซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนั้น ในบางครั้งการควบรวมกิจการยังเป็นวิธีการที่กิจการใช้ในการขยายช่องทางการลงทุนไปยังต่างประเทศ และลดความเสี่ยงจากการลงทุน
  • การทำให้ได้รับเงินทุนและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในหลายๆกรณี การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทำให้กิจการมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนมากขึ้นในการพัฒนาการผลิตและลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงมีความต้องการที่จะหาพันธมิตรใหม่มาร่วมในการลงทุน โดย M&A เป็นวิธีการเพิ่มทุนในการดำเนินธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือจากการออกหุ้นเพิ่มทุน หรือ การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่การช่วยเพิ่มราคาหุ้นของกิจการและอัตราผลตอบแทนของผู้หุ้น

What are weakness M&A business ?

การทำ M&A มีจุดอ่อนและความเสี่ยงอยู่หลายประการ ดังต่อไปนี้

  • การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการควบรวม พร้อมทั้งเลือกรูปแบบในการควบรวมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย M&A สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของการซื้อหุ้น หรือ ซื้อทรัพย์สิน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งของกิจการ หรือทั้งสองอย่าง
  • ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมในองค์กร การควบรวมกิจการโดยผู้ถือหุ้นใหม่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร ซึ่งอาจจะมีรูปแบบการบริหารและนโยบายที่แตกต่างกับผู้บริหารชุดเดิม ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานในภายหลังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของ Cross-border M&A
  • การตรวจสอบสถานะทางการเงิน(Due Diligence)ของบริษัทที่จะควบรวม ซึ่งควรที่จะกระทำอย่างรอบคอบ เช่นว่าบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินและภาระผูกพันใดๆบ้าง
  • ด้านภาษี สืบเนื่องจากการทำ M&A มีด้านภาษีที่เกี่ยวข้องหลายประการด้วยกัน ซึ่งจะต้องทำการศึกษาให้รอบคอบโดยในแต่ละรูปแบบก็จะมีความแตกต่างออกไป รวมถึงการที่กรมสรรพากรได้มีการยกเว้นภาษีให้ในบางกรณี เช่น ผลกำไรจากการควบรวมและโอนกิจการทั้งหมดจะไม่ให้ถือเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีของบริษัทเดิมที่ได้ควบเข้ากัน (มาตรา 74 (1) (ข)) ตลอดจน ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่นับรวมเป็นการขาย และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
  • จังหวะเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งควรที่จะกระทำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข่าวลือที่จะกระทบราคาหุ้น นอกจากนั้น จังหวะในการเข้าซื้อเป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่น การเข้าซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นของบริษัทเป้าหมายปรับตัวลดลง หรือมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
  • การควบรวมกิจการที่เกิดจากการที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่เต็มใจที่จะควบรวม (Hostile Takeover) อาจนำไปสู่ข้อพิพาทที่ยืดเยื้อได้ เช่น การฟ้องร้อง ซึ่งส่งผลในแง่ลบต่อภาพรวมของกิจการ หรือการพยายามแข่งขันซื้อหุ้นคืนของผู้ถือหุ้นเดิมได้ หรือในกรณีที่ผู้ถือหุ้นใหม่เป็นชาวต่างชาติ จะทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตก็ตาม แต่อาจก่อให้เกิดกระแสคัดค้านในบางธุรกิจที่คิดว่าจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

สำหรับแนวโน้มการทำ M&A น่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความจำเป็นที่กิจการต่างๆยังคงจะต้องมีการควบรวมกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งรองรับการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตจากการเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน ตลอดจน การเปิดเสรีและออกใบอนุญาตในธุรกิจสื่อสารดังที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น โดยคาดว่ากลุ่มธุรกิจสำคัญที่จะมีการทำ M&A เพิ่มขึ้นในปีนี้ น่าจะยังอยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ธุรกิจประกัน และโทรคมนาคม

What does ” Yushi ” do ?

เกี่ยวกับ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม

Stage 1
Machinery Parts

Yushi Group | เริ่มต้นด้วยการนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับส่วนประกอบเครื่องจักร (Components) และรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์หลากหลายที่เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องจักรเข้ามาไว้รวมกัน โดยได้รับการแต่งตั้งจากแบรนด์สินค้าชั้นนำในต่างประเทศในรูปแบบ Exclusive Agent อันเป็นรากฐานในการสร้างระบบ Supply Chainทั้งนี้รวมถึงสินค้าในกลุ่มระบบระบายอากาศระบบน้ำ ระบบโครงสร้างและกลุ่มสินค้าประหยัดพลังงาน ที่มีประสิทธิภาพสูงและยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

Stage 2
Factory Systems

สร้างทีมและระบบติดตั้งงานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ โดยการนำสินค้าและบริการใน Stage 1มาใช้ เพื่อสนับสนุนการทำงานระหว่างบริษัทในเครือและลูกค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถเกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในการติดตั้งงาน และสามารถออกแบบ คำนวณ ติดตั้งและบริการหลังการขายได้อย่างสมบูรณ์

MA งานระบบออโตเมชั่น
MA ระบบออโตเมชั่น

Stage 3
Machineries

นำเข้าและผลิตเครื่องจักรเข้ามาจัดจำหน่าย เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยการนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาสนับสนุนการทำงานทั้งในด้านการลดแรงงานคน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความเร็วและความแม่นยำในการผลิต และการแก้ปัญหาอื่น ๆ ให้กับลูกค้าโดยทีมงานที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม และเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Stage 4
Manufacturers

“ M&A “ (Mergers and Acquisitions) ในธุรกิจที่ไม่มีเทคโนโลยีสูงแต่สินค้าที่จำเป็นและมีความต้องการสูง นั่นรวมถึงสินค้าภาคการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของประเทศไทยด้วย โดยกลุ่ม Yushi Group จะนำเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ เข้าไปพัฒนาระบบการจัดการ การบริหาร ตลอดจนความรู้และวิทยาการ ตั้งแต่วิธีการทำงานของคน การพัฒนาเครื่องจักร และวิธีคิดทางการตลาด ออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยใน Stage 4นี้ กลุ่มบริษัทสามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ตั้งแต่ “ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ “ แบบครบวงจร เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถต่อยอดออกไปอย่างยั่งยืนและไม่มีที่สิ้นสุด

MA สินค้าเครื่องดื่ม